Powered By Blogger

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศทั้ง 2 ธุรกิจ


ฟูจิ เล็งขายแฟรนไชส์ลุยตปท.ทุ่ม 400 ล.ผุดบูติกโฮเต็ลขยายฐาน
·         ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
  1.        ฟูจิ  ควรศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคว่าต้องการอะไรมากที่สุด  โดยการทำวิจัย จะต้องเริ่มศึกษาความต้องการของคนในประเทศก่อน  แต่เราก็ต้องศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวด้วย  ต้องถามด้วยว่าเขาชอบอะไร  และไม่ชอบอะไร
  2.         ฟูจิ  ควรศึกษาคู่แข่งของตนว่าเรามีอะไรที่คิดว่าจะสู้เขาได้ โดยต้องทำ  swot   ,  4p ให้ชัดเจนที่สุด
  3.           ฟูจิ  ควรมีการขนส่งที่ดี  รวดเร็ว  ทันสมัย  และมีความปลอดภัย  โดยครอบคลุมถึงอาหารต้องสดใหม่อยู่ตลอด
  4.            ฟูจิ  ควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามทำเลที่ตั้งที่เราจะขยายไปในที่นั้น  และ  ตามให้ทันกับคู่แข่ง
เอ็มเค ฉลองครบ 300 สาขา ย้ำความสำเร็จนวัตกรรมบริการ
·         ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
  1.       เอ็มเคมีการบริหารจัดการด้วยแนวคิด QCQS ได้แก่ ความรวดเร็วในการให้บริการ (Q = Quickness), ความสะอาดของอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร (C = Cleanliness), คุณภาพของอาหารที่มีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างเข้มงวด (Q = Quality), และการให้บริการที่เป็นเลิศ (S = Service)”ที่ดีอยู่แล้ว  และการบริการที่เป็นกันเอง
  2.      ควรทำการตลาดและสำรวจตลาดของที่นั้นว่าเขาเป็นอย่างไรต้องศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคของที่นั้นว่าเป็นอย่างไง ควรศึกษาวัฒนธรรมการกินของที่นั้น
  3.      เอ็มเคมีจุดเด่นอยู่ตรงเป็นร้านอาหารสำหรับครอบครัวอยู่แล้ว  เป็นที่นัดสำหรับเพื่อน  ที่ไม่เจอกันนาน ๆ
  4.     มีความปลอดภัย  โดยครอบคลุมถึงอาหารต้องสดใหม่อยู่ตลอด 
  5.     ควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามทำเลที่ตั้งที่เราจะขยายไปในที่นั้น  และ  ตามให้ทันกับคู่แข่ง
  6.     ควรศึกษาคู่แข่งของตนว่าเรามีอะไรที่คิดว่าจะสู้เขาได้ โดยต้องทำ  swot   ,  4p ให้ชัดเจน 

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความการส่งออก


·        ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดปริมาณการใช้เหล็กทั่วโลกหดตัวมากถึง 15% แนะผู้ประกอบการไทยควรหาตลาดใหม่ เลี่ยงการแข่งขันสูง
                 ศูนย์ วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าจากข้อมูลของสมาคมเหล็กโลกเมื่อเร็วๆนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้เหล็กโลกในปี 2552 จะหดตัวลงถึง 14.9% หรือมีจำนวน 1,018.6 ล้านตัน ลดลงจาก 1,197 ล้านตัน (หดตัว 1.4%) ในปี 2551 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีแรกนี้ก่อนที่ความต้องการเหล็กจะทรงตัวใน ช่วงครึ่งหลังและค่อยๆฟื้นตัวขึ้นในปี 2553
อย่างไรก็ตามความต้องการเหล็กดังกล่าวยังคงต้องขึ้นอยู่กับผลจากแผน กระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของรัฐบาลในหลายๆประเทศ ความมั่นคงของระบบการเงินโลก และความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถบอกทิศทางที่แน่ชัดได้ จากข้อมูลความต้องการเหล็กที่ลดลงมากดังกล่าวแสดงถึงทิศทางการแข่งขันในตลาด ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดส่งออก เนื่องจากปริมาณการผลิตที่มีแนวโน้มสูงเกินความต้องการของผู้บริโภค ทำให้หลายประเทศจำเป็นต้องหันมาพึ่งมาตรการต่างๆเพื่อกีดกันการนำเข้าและปก ป้องอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ
                ด้วยเหตุนี้การส่งออกเหล็กสำเร็จรูปจากไทยจึงคาดว่าจะได้รับผลกระทบทั้ง จากภาวะอุปสงค์ที่หดตัวสูง และมาตรการกีดกันการค้าต่างๆอย่างไม่อาจเลี่ยง 
              ศูนย์วิจัยกสิกรไทย แนะนำทางออกให้กับผู้ประกอบการไทยว่า การส่งออกเหล็กไทยในปีนี้น่าจะเป็นโอกาสสำหรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เหล็ก และเหล็กกล้าโดยเฉพาะโครงก่อสร้างทำด้วยเหล็กซึ่งมีการขยายตัวสูงมากใน ประเทศส่งออกของไทยส่วนใหญ่
              นอกจากนี้การส่งออกท่อเหล็กแม้ตลาดรวมจะขยายตัวไม่มาก แต่ประเทศนำเข้าจากไทยส่วนใหญ่ก็มีทิศทางขยายตัวเช่นกัน โดยการส่งออกไปยังตลาดประเทศกำลังพัฒนาอย่างบางประเทศในตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก แอฟริกา และเอเชียนั้น คาดว่าจะยังคงเป็นแนวทางหลักในการทำตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ได้ต่อไป เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศเหล่านี้ยังคงมีการขยายตัวอยู่บ้าง
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/research/20090520/43633/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7.html

วิเคราะห์ Swot
จุดแข็ง
-          ผู้ประกอบการไทยมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตเหล็กที่มีคุณภาพ มีรูปแบบตรงตามความต้องการของลูกค้า และเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ
จุดอ่อน
-          การผลิตเหล็กของไทยต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศในสัดส่วนสูง เนื่องจากไทยยังไม่มีโรงงานถลุงเหล็กขั้นต้น ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงประกอบกับไทยไม่มีแร่เหล็กที่มีคุณสมบัติเหมาะต่อการถลุงเหล็ก
โอกาส
-          ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กรายใหญ่ของไทยมีแนวโน้มนำเข้าผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
-          การขยายโอกาสส่งออกไปยังประเทศต่างๆที่ไทยเจรจาทำข้อตกลงเสรี
-          ความสามารถของผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล็กให้สอดคล้องกับการใช้งานก่อให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น
อุปสรรค
-          ผู้ประกอบการไทยเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจีน จีนมีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตเหล็กจากระดับต้นน้ำเป็นของตนเอง ทำให้สามารถส่งออกเหล็กในราคาที่ต่ำกว่าไทย
-          ต้นทุนการผลิตเหล็กสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันและค่าระวางเรื่อที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง
-          การเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตและความต้องการใช้เหล็กของจีนส่งผลต่อราคาเหล็กขั้นกลางในตลาดโลก เนื่องจากจีนเป็นผู้ผลิตเหล็กอันดับ 1 ของโลก
 

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชากรของประเทศมาเลเซีย

ประเทศ มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11[1] ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17)[1] นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี

ที่มาจาก วิกิพีเดีย

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศ VS การค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ
การทำธุรกิจระหว่างประเทศ สิ่งหนึ่งที่ต้องมี คือ การเสนอราคา สำหรับธุรกิจนำเข้าและส่งออก จะมีรูปแบบการเสนอราคาเป็นมาตรฐานสากล


การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศธุรกิจสามารถทำได้ ดังนี้
 1. การส่งออกทางอ้อม คือ การขยายตลาดผ่านคนกลาง หรือตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศ ที่ซื้อสินค้าเพื่อการส่งออก วิธีการดังนี้ จะช่วยลดเงินลงทุนทั้งทางด้านบุคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเข้าสู่ตลาดที่ผู้ประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจในลักษณะตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค สภาพทางเศรษฐกิจ กฎหมายและการเมือง ตลอดจนสภาวการณ์แข่งขันและอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม วิธีการขยายตลาดสู่ต่างประเทศวิธีการนี้มีข้อด้อยตรงที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมเหนือนโยบายการทำธุรกิจของตัวแทนจำหน่าย ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงกับกลยุทธ์ทางการตลาดของกิจการในอนาคต เช่น การวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์
 2. การส่งออกทางตรง คือ วิธีการนี้ธุรกิจจะมีแผนกขายระหว่างประเทศ ซึ่งแผนกดังกล่าวจะทำหน้าที่รับผิดชอบในการหาลูกค้าหรือตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ
  3. การให้ใบอนุญาต คือ การขยายธุรกิจลักษณะนี้ เจ้าของธุรกิจจะทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้โรงงานอื่นในต่างประเทศ ผลิตสินค้าภายใต้ตราสินค้า สิทธิบัตร หรือกระบวนการผลิตที่เป็นลักษณะเฉพาะของเจ้าของธุรกิจผู้ให้ใบอนุญาต
  4. เฟรนไชส์ เป็นรูปแบบการให้สัมปทานเช่นเดียวกับการให้ใบอนุญาต แต่จะมีข้อกำกับนโยบายและรูปแบบการดำเนินธุรกิจระบุควบคู่ไปในข้อสัญญาด้วย ดังนั้น ธุรกิจจะมีอำนาจในการกำหนดบังคับนโยบายทางการตลาดในขณะที่ผู้รับใบอนุญาตแทบจะไม่มีอำนาจในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขใด ๆ เลย นอกจากนี้ เฟรนไชส์ยังมีข้อดีเช่นเดียวกับการขยายตลาดแบบการให้ใบอนุญาต


การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ (International trade) หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง


ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
- ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ของแต่ละประเทศจะถูกใช้ไปในทางการผลิตสินค้าที่ประเทศของตนได้เปรียบในการผลิต ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศไปในทางที่มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ประชากรของแต่ละประเทศ จะได้รับสินค้าและบริการได้มากขึ้นกว่าที่ไม่มีการซื้อการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่น ๆ เลย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชากรมีความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้น
- ถ้าการสั่งสินค้าออกของประเทศ สามารถส่งออกเป็นจำนวนมากก็จะมีผลกระทบถึงรายได้ของประชากร ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น
- สินค้าออกเป็นที่มาของเงินตราต่างประเทศ
- สินค้าออกเป็นที่มาของรายได้และภาษีอาการของรัฐ
- สินค้าเข้าที่เป็นประเภททุน จะขายเพิ่มในการผลิตและการพัฒนาประเทศ
- เมื่อมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ก็จะเป็นผลกระทบในการเพิ่มอำนาจซื้อแก่ประเทศอื่น ๆ ให้สามารถซื้อสินค้าออกของเราได้
ที่มา : http://learners.in.th/file/kulkanit/




ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่าประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศ คือ ต้องใช้การเสนอราคาสำหรับการทำธุรกิจนำเข้า และ ส่งออกมาเป็ตัวมาตราฐานซึ่งจะมีรูปแบบมาตราฐานสากล และ การที่จะเข้าตลาดต่างประเทศได้ จะต้องประกอบด้วย ทรัพยากรที่ประเทศจะต้องใช้ แต่ระประเทศจะมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน ผลิตที่ต่างกันจึงจำเป็นต้องนำสินค้า อีก ประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง
- การส่งออกทางอ้อม คือ การขยายตลาดผ่านคนกลาง หรือตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศ ที่ซื้อสินค้าเพื่อการส่งออก
- การส่งออกทางตรง คือ แผนกขายระหว่างประเทศ
- การให้ใบอนุญาต คือ เจ้าของธุรกิจจะทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้โรงงานอื่นในต่างประเทศ
- เฟรนไชส์ เป็นรูปแบบการให้สัมปทานเช่นเดียวกับการให้ใบอนุญาต แต่จะมีข้อกำกับนโยบายและรูปแบบการดำเนินธุรกิจระบุควบคู่ไปในข้อสัญญาด้วย
 การค้าระหว่างประเทศ คือ การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือทรัพยากรซึ่งกันและกัน เพราะบางประเทศจะไม่มี

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลยุทธ์การจัดชั้นวางสินค้า ( Nanosoft Marketing Series )





            เป้าหมายโดยรวมของการจัดชั้นวางสินค้านั้นก็เพื่อทำให้ลูกค้ามาเลือกซื้อใน สิ่งที่เราอยากให้ซื้อ และก็สามารถทำกำไรให้กับเรามากที่สุดนั้นล่ะครับ หลาย ๆ ต่อหลายห้างฯ ในปัจจุบันนี้มีการคิดค่านำเอาสินค้าของเจ้าของผลิตภัณฑ์เข้าไปขาย หรือเพียงแค่นำสินค้าของเจ้าของผลิตภัณฑ์เข้าไปขาย หรือเพียงแค่นำสินค้าเข้าไปวางที่ชั้นวางสินค้า ไม่ว่าจะมีการขาย เกิดขึ้นหรือไม่แต่ทางเจ้าของสินค้าก็จะต้องจ่ายค่านำสินค้าเข้ามาวางก่อน อยู่ดี ราคาก็จะอยู่ประมาณ 50,000 บาทต่อหนึ่งรายการ ( หมายถึงต่อหนึ่งขนาดบรรจุด้วย )

            1. จุดที่เด่นที่สุดของชั้นวางสินค้าก็คือระดับสายตาของลูกค้า เช่น ถ้าเป็นระดับสายตาที่ต้องการขายให้เด็กเล็กก็สามารถเลือกสินค้าเองได้ ก็น่าจะอยู่ชั้นที่ต่ำกว่าสายตาของผู้ใหญ่ลงไป

           2. จัดแบ่งพื้นที่ให้สินค้าวางโชว์อยู่ในชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมกับยอดขายที่ คาดว่าจะขายได้ และตามอัตราผลกำไรที่จะได้รับโดยรวมด้วย

           3. สินค้าควรจะต้องมีให้เห็นเพื่อขายอยู่บนชั้นวางสินค้าตลอดเวลาเพื่อไม่ให้โอกาสในการขาย

           4. กรณีที่สินค้าขาดหายไป จงอย่าเลื่อนเอาสินค้าตัวอื่นมาแทนที่เนื่องจากจะทำให้ลืมได้ว่าตรงบริเวณนั้นสินค้าขาดไป และจะต้องรีบนำมาเติมให้เต็มพื้นที่ที่ จัดเตรียมไว้โดยเร็วที่สุด

           5. ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายหรือสลับที่กันกับสินค้าตัวอื่น ๆ ควรจะต้องมีการศึกษาและปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างทางฝ่ายจัดซื้อและทางหน้า ร้านก่อน จึงจะให้ ทำการย้ายจุดได้

           6. ควรมีการปรับปรุงจุดที่จัดวางสินค้าบนชั้นวางสินค้าใหม่ในทุก ๆ 3 เดือน เพื่อคอยสอดส่องดูว่าผลการดำเนินงานหรือยอดขายและกำไรต่อพื้นที่การขาย ของสินค้าแต่และตัวนั้นเหมาะสม อยู่หรือไม่

           7. การเติมสินค้าบนชั้นวางสินค้า ให้นำสินค้าเก่าที่มีอยู่ยกยอดออกมาให้หมดก่อนแล้วจึงเติมสินค้าใหม่จากด้านหลังมา ทั้งนี้จะช่วยในการบริหารสินค้าที่นำมา วางจำหน่ายไม่ให้มีสินค้าเก่าเก็บเหลืออยู่ในชั้นวางสินค้านานจนเกินไป

          8. ควรติดป้ายชื่อ ขนาดบรรจุ และราคาสินค้าทุกชนิดไว้ที่ขอบของชั้นวางสินค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบและเช็กได้ตลอดเวลา

          9. ชั้นวางสินค้าไม่ควรมีฝุ่นละอองจับ ไม่ว่าจะเป็นที่ตัวชั้นวางสินค้าเองหรือที่ตัวสินค้า

         10. ไม่ควรมีของใช้ส่วนตัวของพนักงานซูปเปอร์มาร์เก็ตซุกซ่อนอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งของชั้นวางสินค้า รวมทั้งไม้ปัดขนไก่ ปากกา ผ้าขี้ร้ว ถังซักผ้า จาน ชาม ช้อน ส้อม หรือ แม้แต่ของกิน

         11. เอกสารสำคัญต่าง ๆ ที่มีราคาต้นทุนสินค้า ต้องไม่มีให้เห็นที่ชั้นวางสินค้า

         12. เมื่อสินค้าใหม่เข้ามา ควรรีบนำขึ้นวางสินค้าในทันที

        13. จัดสินค้าให้แยกตามประเภทของสินค้าและให้เป็นตามแนวดิ่งจากชั้นล่างขึ้นบน หรือจากบนลงล่าง

        14. สินค้ายี่ห้อที่เป็นที่นิยมให้จัดอยู่ในระดับสายตา ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นได้ก่อนและเลือกหยิบซื้อได้โดยเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาหานาน

        15. สินค้าประเภทที่ “ไม่เห็นไม่ซื้อ” หรือลูกค้าไม่เคยมีความคิดจะซื้ออยู่เมนูการจับจ่ายซื้อของเพื่อใช้ในชีวิต ประจำวันแล้ว จงพยายามจัดเอาสินค้า ประเภทนี้ วางให้กับสินค้าชนิดที่ขายดี หรือเป็นที่ต้องการของลูกค้า

        16. กรณีสินค้านั้น ๆ มีหลายขนาด ให้จัดสินค้าเป็นแนวดิ่ง คือให้ขนาดเล็กอยู่บน ขนาดใหญ่อยู่ล่าง เวลาจัดชั้นวางสินค้าพนักงานขายจะได้ ไม่ต้องเหนื่อยมากในการหยิบยก สินค้าขนาดใหญ่ ๆ ไปไว้ข้างบน และลูกค้าเวลาเลือกหยิบจากชั้นวางสินค้าก็จะได้ไม่ต้องกลัวว่าสินค้าจะตกลงมาใส่หัว

        17. ถ้าขนาดใดขายดี ให้เพิ่มพื้นที่ในชั้นวางสินค้าหรือขยายเพิ่มชั้นวาง 2 ชั้นขึ้นไป

        18. ถ้าสินค้าประเภทนั้นมีเพียง 2 ยี่ห้อ และมีเพียงยี่ห้อละ 2 ขนาด ให้เอายี่ห้อที่ขายดีจัดวางชั้นบน และเอายี่ห้อรองวางชั้นล่าง

        19. ถ้าสินค้าประเภทนั้นมีเพียงยี่ห้อเดียว ให้ดูว่าสินค้าประเภทใกล้เคียงกันในหมวดหมู่เดียวกันหรือไม่ ถ้ามีให้นำมาขายรวมหมวดกันและจัดวางตามยี่ห้อ เป็นแนวดิ่ง

        20. ถ้าสินค้ามีหลายขนาดมาก แต่ละชั้นวางสินค้ามีเพียงไม่กี่ชั้นเราสามารถเพิ่มหรือเสริมชั้นวางสินค้า ให้มีหลายชั้นได้

        21. ถ้าเป็นสินค้าประเภทกำจัดยุงไฟฟ้า ควรวางแผ่นไว้ข้าง ๆ กันกับเครื่องยี่ห้อเดียวกัน

       22. ส่วนที่เป็นน้ำยาฉีดกันยุงทั้งที่เป็นแบบสเปรย์และกระป๋องควรวางไว้ในกลุ่ม ยี่ห้อเดียวกัน และเรียงตามขนาดตามแนวดิ่ง ส่วนน้ำยาที่เป็นแบบกระป๋องเติม ให้วางไว้ชั้นล่างสุด

       23. สินค้าประเภทผ้าอนามัย ควรแบ่งกลุ่มตามแนวดิ่ง และแยกประเภทตามยี่ห้อ

       24. ยาสีฟัน ควรแบ่งการวางไว้ตามยี่ห้อ (ขนาดใหญ่หรือเล็กก็ควรให้อยู่ใกล้กันในหมวดยี่ห้อเดียวกัน)



            แนวคิดที่จัดวางสินค้าเป็นแนว ดิ่งนี้เนื่องเพราะหากว่าเราจัดวางโชว์สินค้าเป็นแนวนอน เวลาลูกค้าเดินเลือกหาสินค้า แล้วจะเดินผ่านไปเลยและไม่มีโอกาสที่จะเดินย้อนกลับ มาเลือกซื้อสินค้าประเภทอื่นที่วางขายอยู่ที่ชั้นอื่น ๆ อีก การเลือกดูตามขนาดของสินค้าก็เพียงก้ม ๆ เงย ๆ นิดหน่อย ก็สามารถเลือกได้สินค้าที่พอใจแล้ว ดังนั้นโอกาสในการ ขายของก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นสินค้าได้ทั่วไปนั้นเอง



** คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ " ทางรอด SMEs ยุคใหม่ " โดย คณิต สินทบ ISBN 974-90001-2-9


ที่มา:http://www.nanosoft.co.th/maktip3.htm