Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความการส่งออก


·        ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดปริมาณการใช้เหล็กทั่วโลกหดตัวมากถึง 15% แนะผู้ประกอบการไทยควรหาตลาดใหม่ เลี่ยงการแข่งขันสูง
                 ศูนย์ วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าจากข้อมูลของสมาคมเหล็กโลกเมื่อเร็วๆนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้เหล็กโลกในปี 2552 จะหดตัวลงถึง 14.9% หรือมีจำนวน 1,018.6 ล้านตัน ลดลงจาก 1,197 ล้านตัน (หดตัว 1.4%) ในปี 2551 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีแรกนี้ก่อนที่ความต้องการเหล็กจะทรงตัวใน ช่วงครึ่งหลังและค่อยๆฟื้นตัวขึ้นในปี 2553
อย่างไรก็ตามความต้องการเหล็กดังกล่าวยังคงต้องขึ้นอยู่กับผลจากแผน กระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของรัฐบาลในหลายๆประเทศ ความมั่นคงของระบบการเงินโลก และความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถบอกทิศทางที่แน่ชัดได้ จากข้อมูลความต้องการเหล็กที่ลดลงมากดังกล่าวแสดงถึงทิศทางการแข่งขันในตลาด ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดส่งออก เนื่องจากปริมาณการผลิตที่มีแนวโน้มสูงเกินความต้องการของผู้บริโภค ทำให้หลายประเทศจำเป็นต้องหันมาพึ่งมาตรการต่างๆเพื่อกีดกันการนำเข้าและปก ป้องอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ
                ด้วยเหตุนี้การส่งออกเหล็กสำเร็จรูปจากไทยจึงคาดว่าจะได้รับผลกระทบทั้ง จากภาวะอุปสงค์ที่หดตัวสูง และมาตรการกีดกันการค้าต่างๆอย่างไม่อาจเลี่ยง 
              ศูนย์วิจัยกสิกรไทย แนะนำทางออกให้กับผู้ประกอบการไทยว่า การส่งออกเหล็กไทยในปีนี้น่าจะเป็นโอกาสสำหรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เหล็ก และเหล็กกล้าโดยเฉพาะโครงก่อสร้างทำด้วยเหล็กซึ่งมีการขยายตัวสูงมากใน ประเทศส่งออกของไทยส่วนใหญ่
              นอกจากนี้การส่งออกท่อเหล็กแม้ตลาดรวมจะขยายตัวไม่มาก แต่ประเทศนำเข้าจากไทยส่วนใหญ่ก็มีทิศทางขยายตัวเช่นกัน โดยการส่งออกไปยังตลาดประเทศกำลังพัฒนาอย่างบางประเทศในตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก แอฟริกา และเอเชียนั้น คาดว่าจะยังคงเป็นแนวทางหลักในการทำตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ได้ต่อไป เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศเหล่านี้ยังคงมีการขยายตัวอยู่บ้าง
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/research/20090520/43633/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7.html

วิเคราะห์ Swot
จุดแข็ง
-          ผู้ประกอบการไทยมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตเหล็กที่มีคุณภาพ มีรูปแบบตรงตามความต้องการของลูกค้า และเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ
จุดอ่อน
-          การผลิตเหล็กของไทยต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศในสัดส่วนสูง เนื่องจากไทยยังไม่มีโรงงานถลุงเหล็กขั้นต้น ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงประกอบกับไทยไม่มีแร่เหล็กที่มีคุณสมบัติเหมาะต่อการถลุงเหล็ก
โอกาส
-          ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กรายใหญ่ของไทยมีแนวโน้มนำเข้าผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
-          การขยายโอกาสส่งออกไปยังประเทศต่างๆที่ไทยเจรจาทำข้อตกลงเสรี
-          ความสามารถของผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล็กให้สอดคล้องกับการใช้งานก่อให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น
อุปสรรค
-          ผู้ประกอบการไทยเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจีน จีนมีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตเหล็กจากระดับต้นน้ำเป็นของตนเอง ทำให้สามารถส่งออกเหล็กในราคาที่ต่ำกว่าไทย
-          ต้นทุนการผลิตเหล็กสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันและค่าระวางเรื่อที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง
-          การเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตและความต้องการใช้เหล็กของจีนส่งผลต่อราคาเหล็กขั้นกลางในตลาดโลก เนื่องจากจีนเป็นผู้ผลิตเหล็กอันดับ 1 ของโลก
 

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชากรของประเทศมาเลเซีย

ประเทศ มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11[1] ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17)[1] นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี

ที่มาจาก วิกิพีเดีย

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศ VS การค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ
การทำธุรกิจระหว่างประเทศ สิ่งหนึ่งที่ต้องมี คือ การเสนอราคา สำหรับธุรกิจนำเข้าและส่งออก จะมีรูปแบบการเสนอราคาเป็นมาตรฐานสากล


การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศธุรกิจสามารถทำได้ ดังนี้
 1. การส่งออกทางอ้อม คือ การขยายตลาดผ่านคนกลาง หรือตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศ ที่ซื้อสินค้าเพื่อการส่งออก วิธีการดังนี้ จะช่วยลดเงินลงทุนทั้งทางด้านบุคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเข้าสู่ตลาดที่ผู้ประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจในลักษณะตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค สภาพทางเศรษฐกิจ กฎหมายและการเมือง ตลอดจนสภาวการณ์แข่งขันและอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม วิธีการขยายตลาดสู่ต่างประเทศวิธีการนี้มีข้อด้อยตรงที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมเหนือนโยบายการทำธุรกิจของตัวแทนจำหน่าย ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงกับกลยุทธ์ทางการตลาดของกิจการในอนาคต เช่น การวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์
 2. การส่งออกทางตรง คือ วิธีการนี้ธุรกิจจะมีแผนกขายระหว่างประเทศ ซึ่งแผนกดังกล่าวจะทำหน้าที่รับผิดชอบในการหาลูกค้าหรือตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ
  3. การให้ใบอนุญาต คือ การขยายธุรกิจลักษณะนี้ เจ้าของธุรกิจจะทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้โรงงานอื่นในต่างประเทศ ผลิตสินค้าภายใต้ตราสินค้า สิทธิบัตร หรือกระบวนการผลิตที่เป็นลักษณะเฉพาะของเจ้าของธุรกิจผู้ให้ใบอนุญาต
  4. เฟรนไชส์ เป็นรูปแบบการให้สัมปทานเช่นเดียวกับการให้ใบอนุญาต แต่จะมีข้อกำกับนโยบายและรูปแบบการดำเนินธุรกิจระบุควบคู่ไปในข้อสัญญาด้วย ดังนั้น ธุรกิจจะมีอำนาจในการกำหนดบังคับนโยบายทางการตลาดในขณะที่ผู้รับใบอนุญาตแทบจะไม่มีอำนาจในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขใด ๆ เลย นอกจากนี้ เฟรนไชส์ยังมีข้อดีเช่นเดียวกับการขยายตลาดแบบการให้ใบอนุญาต


การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ (International trade) หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง


ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
- ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ของแต่ละประเทศจะถูกใช้ไปในทางการผลิตสินค้าที่ประเทศของตนได้เปรียบในการผลิต ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศไปในทางที่มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ประชากรของแต่ละประเทศ จะได้รับสินค้าและบริการได้มากขึ้นกว่าที่ไม่มีการซื้อการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่น ๆ เลย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชากรมีความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้น
- ถ้าการสั่งสินค้าออกของประเทศ สามารถส่งออกเป็นจำนวนมากก็จะมีผลกระทบถึงรายได้ของประชากร ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น
- สินค้าออกเป็นที่มาของเงินตราต่างประเทศ
- สินค้าออกเป็นที่มาของรายได้และภาษีอาการของรัฐ
- สินค้าเข้าที่เป็นประเภททุน จะขายเพิ่มในการผลิตและการพัฒนาประเทศ
- เมื่อมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ก็จะเป็นผลกระทบในการเพิ่มอำนาจซื้อแก่ประเทศอื่น ๆ ให้สามารถซื้อสินค้าออกของเราได้
ที่มา : http://learners.in.th/file/kulkanit/




ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่าประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศ คือ ต้องใช้การเสนอราคาสำหรับการทำธุรกิจนำเข้า และ ส่งออกมาเป็ตัวมาตราฐานซึ่งจะมีรูปแบบมาตราฐานสากล และ การที่จะเข้าตลาดต่างประเทศได้ จะต้องประกอบด้วย ทรัพยากรที่ประเทศจะต้องใช้ แต่ระประเทศจะมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน ผลิตที่ต่างกันจึงจำเป็นต้องนำสินค้า อีก ประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง
- การส่งออกทางอ้อม คือ การขยายตลาดผ่านคนกลาง หรือตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศ ที่ซื้อสินค้าเพื่อการส่งออก
- การส่งออกทางตรง คือ แผนกขายระหว่างประเทศ
- การให้ใบอนุญาต คือ เจ้าของธุรกิจจะทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้โรงงานอื่นในต่างประเทศ
- เฟรนไชส์ เป็นรูปแบบการให้สัมปทานเช่นเดียวกับการให้ใบอนุญาต แต่จะมีข้อกำกับนโยบายและรูปแบบการดำเนินธุรกิจระบุควบคู่ไปในข้อสัญญาด้วย
 การค้าระหว่างประเทศ คือ การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือทรัพยากรซึ่งกันและกัน เพราะบางประเทศจะไม่มี