Powered By Blogger

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศ VS การค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ
การทำธุรกิจระหว่างประเทศ สิ่งหนึ่งที่ต้องมี คือ การเสนอราคา สำหรับธุรกิจนำเข้าและส่งออก จะมีรูปแบบการเสนอราคาเป็นมาตรฐานสากล


การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศธุรกิจสามารถทำได้ ดังนี้
 1. การส่งออกทางอ้อม คือ การขยายตลาดผ่านคนกลาง หรือตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศ ที่ซื้อสินค้าเพื่อการส่งออก วิธีการดังนี้ จะช่วยลดเงินลงทุนทั้งทางด้านบุคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเข้าสู่ตลาดที่ผู้ประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจในลักษณะตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค สภาพทางเศรษฐกิจ กฎหมายและการเมือง ตลอดจนสภาวการณ์แข่งขันและอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม วิธีการขยายตลาดสู่ต่างประเทศวิธีการนี้มีข้อด้อยตรงที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมเหนือนโยบายการทำธุรกิจของตัวแทนจำหน่าย ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงกับกลยุทธ์ทางการตลาดของกิจการในอนาคต เช่น การวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์
 2. การส่งออกทางตรง คือ วิธีการนี้ธุรกิจจะมีแผนกขายระหว่างประเทศ ซึ่งแผนกดังกล่าวจะทำหน้าที่รับผิดชอบในการหาลูกค้าหรือตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ
  3. การให้ใบอนุญาต คือ การขยายธุรกิจลักษณะนี้ เจ้าของธุรกิจจะทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้โรงงานอื่นในต่างประเทศ ผลิตสินค้าภายใต้ตราสินค้า สิทธิบัตร หรือกระบวนการผลิตที่เป็นลักษณะเฉพาะของเจ้าของธุรกิจผู้ให้ใบอนุญาต
  4. เฟรนไชส์ เป็นรูปแบบการให้สัมปทานเช่นเดียวกับการให้ใบอนุญาต แต่จะมีข้อกำกับนโยบายและรูปแบบการดำเนินธุรกิจระบุควบคู่ไปในข้อสัญญาด้วย ดังนั้น ธุรกิจจะมีอำนาจในการกำหนดบังคับนโยบายทางการตลาดในขณะที่ผู้รับใบอนุญาตแทบจะไม่มีอำนาจในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขใด ๆ เลย นอกจากนี้ เฟรนไชส์ยังมีข้อดีเช่นเดียวกับการขยายตลาดแบบการให้ใบอนุญาต


การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ (International trade) หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง


ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
- ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ของแต่ละประเทศจะถูกใช้ไปในทางการผลิตสินค้าที่ประเทศของตนได้เปรียบในการผลิต ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศไปในทางที่มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ประชากรของแต่ละประเทศ จะได้รับสินค้าและบริการได้มากขึ้นกว่าที่ไม่มีการซื้อการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่น ๆ เลย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชากรมีความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้น
- ถ้าการสั่งสินค้าออกของประเทศ สามารถส่งออกเป็นจำนวนมากก็จะมีผลกระทบถึงรายได้ของประชากร ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น
- สินค้าออกเป็นที่มาของเงินตราต่างประเทศ
- สินค้าออกเป็นที่มาของรายได้และภาษีอาการของรัฐ
- สินค้าเข้าที่เป็นประเภททุน จะขายเพิ่มในการผลิตและการพัฒนาประเทศ
- เมื่อมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ก็จะเป็นผลกระทบในการเพิ่มอำนาจซื้อแก่ประเทศอื่น ๆ ให้สามารถซื้อสินค้าออกของเราได้
ที่มา : http://learners.in.th/file/kulkanit/




ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่าประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศ คือ ต้องใช้การเสนอราคาสำหรับการทำธุรกิจนำเข้า และ ส่งออกมาเป็ตัวมาตราฐานซึ่งจะมีรูปแบบมาตราฐานสากล และ การที่จะเข้าตลาดต่างประเทศได้ จะต้องประกอบด้วย ทรัพยากรที่ประเทศจะต้องใช้ แต่ระประเทศจะมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน ผลิตที่ต่างกันจึงจำเป็นต้องนำสินค้า อีก ประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง
- การส่งออกทางอ้อม คือ การขยายตลาดผ่านคนกลาง หรือตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศ ที่ซื้อสินค้าเพื่อการส่งออก
- การส่งออกทางตรง คือ แผนกขายระหว่างประเทศ
- การให้ใบอนุญาต คือ เจ้าของธุรกิจจะทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้โรงงานอื่นในต่างประเทศ
- เฟรนไชส์ เป็นรูปแบบการให้สัมปทานเช่นเดียวกับการให้ใบอนุญาต แต่จะมีข้อกำกับนโยบายและรูปแบบการดำเนินธุรกิจระบุควบคู่ไปในข้อสัญญาด้วย
 การค้าระหว่างประเทศ คือ การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือทรัพยากรซึ่งกันและกัน เพราะบางประเทศจะไม่มี

4 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมูลตรง .. การค้าระหว่างประเทศ (International trade).. ติด link มา ระวังด้วยว่าต้องการให้ไปยัง link ข้างนอกหรือเปล่า

    ตอบลบ
  2. เนื้อหา ดี อ่านง่าย

    น่าสนใจดี

    ตอบลบ
  3. เนื้อหา ดี อ่านง่าย

    น่าสนใจดี

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาน่าสนใจ

    และเข้าใจง่าย

    ตอบลบ