Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความการส่งออก


·        ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดปริมาณการใช้เหล็กทั่วโลกหดตัวมากถึง 15% แนะผู้ประกอบการไทยควรหาตลาดใหม่ เลี่ยงการแข่งขันสูง
                 ศูนย์ วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าจากข้อมูลของสมาคมเหล็กโลกเมื่อเร็วๆนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้เหล็กโลกในปี 2552 จะหดตัวลงถึง 14.9% หรือมีจำนวน 1,018.6 ล้านตัน ลดลงจาก 1,197 ล้านตัน (หดตัว 1.4%) ในปี 2551 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีแรกนี้ก่อนที่ความต้องการเหล็กจะทรงตัวใน ช่วงครึ่งหลังและค่อยๆฟื้นตัวขึ้นในปี 2553
อย่างไรก็ตามความต้องการเหล็กดังกล่าวยังคงต้องขึ้นอยู่กับผลจากแผน กระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของรัฐบาลในหลายๆประเทศ ความมั่นคงของระบบการเงินโลก และความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถบอกทิศทางที่แน่ชัดได้ จากข้อมูลความต้องการเหล็กที่ลดลงมากดังกล่าวแสดงถึงทิศทางการแข่งขันในตลาด ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดส่งออก เนื่องจากปริมาณการผลิตที่มีแนวโน้มสูงเกินความต้องการของผู้บริโภค ทำให้หลายประเทศจำเป็นต้องหันมาพึ่งมาตรการต่างๆเพื่อกีดกันการนำเข้าและปก ป้องอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ
                ด้วยเหตุนี้การส่งออกเหล็กสำเร็จรูปจากไทยจึงคาดว่าจะได้รับผลกระทบทั้ง จากภาวะอุปสงค์ที่หดตัวสูง และมาตรการกีดกันการค้าต่างๆอย่างไม่อาจเลี่ยง 
              ศูนย์วิจัยกสิกรไทย แนะนำทางออกให้กับผู้ประกอบการไทยว่า การส่งออกเหล็กไทยในปีนี้น่าจะเป็นโอกาสสำหรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เหล็ก และเหล็กกล้าโดยเฉพาะโครงก่อสร้างทำด้วยเหล็กซึ่งมีการขยายตัวสูงมากใน ประเทศส่งออกของไทยส่วนใหญ่
              นอกจากนี้การส่งออกท่อเหล็กแม้ตลาดรวมจะขยายตัวไม่มาก แต่ประเทศนำเข้าจากไทยส่วนใหญ่ก็มีทิศทางขยายตัวเช่นกัน โดยการส่งออกไปยังตลาดประเทศกำลังพัฒนาอย่างบางประเทศในตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก แอฟริกา และเอเชียนั้น คาดว่าจะยังคงเป็นแนวทางหลักในการทำตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ได้ต่อไป เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศเหล่านี้ยังคงมีการขยายตัวอยู่บ้าง
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/research/20090520/43633/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7.html

วิเคราะห์ Swot
จุดแข็ง
-          ผู้ประกอบการไทยมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตเหล็กที่มีคุณภาพ มีรูปแบบตรงตามความต้องการของลูกค้า และเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ
จุดอ่อน
-          การผลิตเหล็กของไทยต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศในสัดส่วนสูง เนื่องจากไทยยังไม่มีโรงงานถลุงเหล็กขั้นต้น ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงประกอบกับไทยไม่มีแร่เหล็กที่มีคุณสมบัติเหมาะต่อการถลุงเหล็ก
โอกาส
-          ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กรายใหญ่ของไทยมีแนวโน้มนำเข้าผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
-          การขยายโอกาสส่งออกไปยังประเทศต่างๆที่ไทยเจรจาทำข้อตกลงเสรี
-          ความสามารถของผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล็กให้สอดคล้องกับการใช้งานก่อให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น
อุปสรรค
-          ผู้ประกอบการไทยเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจีน จีนมีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตเหล็กจากระดับต้นน้ำเป็นของตนเอง ทำให้สามารถส่งออกเหล็กในราคาที่ต่ำกว่าไทย
-          ต้นทุนการผลิตเหล็กสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันและค่าระวางเรื่อที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง
-          การเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตและความต้องการใช้เหล็กของจีนส่งผลต่อราคาเหล็กขั้นกลางในตลาดโลก เนื่องจากจีนเป็นผู้ผลิตเหล็กอันดับ 1 ของโลก
 

8 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย น่าสนใจจ่ะ

    ตอบลบ
  2. Good
    Next do SWOT for iron products which will be exported to Malaysia.

    ตอบลบ
  3. ได้ความรู้เยอะเลย ^^

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาสั้นๆได้ใจความดีค่ะ


    การวิเคราะห์ SWOT ดีค่ะ อ่านง่าย เข้าใจดี ^^

    ตอบลบ
  5. สินค้าหลายอย่างเราแพ้จีน
    แต่ว่าเราก็สามารถที่จะพัฒนาและขยายตลาดได้เน็อะ
    สู้ ๆ

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาดี อ่านเข้าใจง่าย

    ตอบลบ